osteoarthritis of knee
โรคข้อเข่าเสื่อม ใกล้ตัวกว่าที่คิด
Osteoarthritis (ข้อเสื่อม) เป็นภาวะที่กระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูกหรือกระดูกอ่อนบางลง ชำรุด และสึกหรอ ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกเสียดสีระหว่างกระดูกได้เท่าเดิม
เมื่อแรงเสียดสีกดเบียดทับกันมากขึ้น จะเกิดอาการปวดเจ็บบริเวณข้อต่อและขยับข้อต่อได้ลำบาก หากไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โดยทั่วไปแล้ว Osteoarthritis สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบได้ในคนไข้ที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีภาวะปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มากขึ้น
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการของคนไข้แตกต่างกันไปตามความรุนแรงและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
- เจ็บปวดเมื่อขยับหรือใช้แรงกดที่ข้อต่อ
- รู้สึกหรือได้ยินการเสียดสีของกระดูกข้อต่อ
- สูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถขยับได้เต็มที่เหมือนก่อน
- ข้อต่อบวม
- ข้อต่อเกิดการติดแข็ง เมื่อขยับตัวหลังจากอยู่นิ่ง ๆ หรือไม่ได้ทำกิจกรรมเป็นเวลานาน เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า
สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม
โดยปกติ เมื่อกระดูกอ่อนชำรุดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ร่างกายจะมีกลไกซ่อมแซมและรักษาด้วยตนเอง แต่เนื่องจากถูกกดทับและเสียดสีเป็นเวลานานทำให้ผิวกระดูกผิดรูปไป โดยปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ทำให้ข้อเข่าเสื่อมลงมากขึ้นเรื่อยๆ
- อายุ ประสิทธิภาพการซ่อมแซมกระดูกข้อต่อที่สึกหรอและเลือดที่ไปเลี้ยงข้อเข่าจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น
- โรคอ้วน
ข้อต่อที่รับน้ำหนักมากเกินไปเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น - เพศ
ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคข้อเข่าเลื่อมมากกว่าผู้ชาย - พันธุกรรม โรคนี้อาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
- เคยได้รับความเสียหายบริเวณข้อต่อ เช่น กระดูกหักบริเวณใกล้ๆหัวเข่า ข้อเข่าติดเชื้อ หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของข้อต่อ
- ใช้งานข้อต่อหนักเกินไปหรือผิดวิธี ในกลุ่มคนที่กีฬาหรือยกของหนัก
การรักษาข้อเข่าเสื่อม
กรณีที่มีอาการเป็นมากแล้วมักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายสูงหลักแสนแถมเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดอีกด้วย
ดังนั้น หากมีความเสี่ยงหรืออาการของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่มาก ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แนะนำให้รีบรักษาโดยด่วน นอกจากการปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงแล้ว ยังสามารถใช้ PRP รักษาอย่างปลอดภัยและได้ผล มีหลายสิบงานวิจัยยืนยันว่า PRP ช่วยลดการอักเสบและอาการปวดบวมได้ดีกว่าสเตียรอยด์เสียอีก
อยากรักษาเเต่เนิ่นๆ เสียเงินแค่หลักพัน หรือจ่ายหลักแสนเปลี่ยนหัวเข่าใหม่พร้อมผลข้างเคียงอีกเพียบ ลองเลือกดูนะคะ