อาการนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของคนไข้ที่มีการเคี้ยวผิดปกติ หรือขากรรไกรทำงานผิดปกติ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้ว การนอนกัดฟัน ยังก่อให้เกิดปัญหาอาการปวดข้อต่อกระดูกขากรรไกรและกล้ามเนื้อรอบๆ บริเวณหน้ารูหู สังเกตเมื่อตื่นนอนตอนเช้าหรือบดเคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร ที่แย่กว่านั้น ในบางรายจะมีอาการฟันสึกลึกจนถึงชั้นเนื้อฟันจนเห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม และมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำหรือรับประทานของหวานได้
สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) มักเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
1. ความเครียด ไม่ว่าจากเรื่องงานหรือชีวิตประจำวันอื่นๆ ก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอนโดยไม่รู้สึกตัวได้
2. สภาพฟัน ตัวฟันบางซี่อาจมีส่วนที่อยู่สูงกว่าจุดอื่นๆ โดยอาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน การเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ก็ได้ รวมถึงคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไปแต่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งจุดที่สูงผิดปกติขัดขวางการบดเคี้ยว ธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยวนี้ โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหายไปในเวลาที่เรานอนหลับนั่นเอง
วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน
1) พฤติกรรมบำบัด ลดความเครียดหรือความกังวลด้วยการทำจิตใจให้สบาย อาจทำโดยการนั่งสมาธิ, เล่นกีฬา, ลดหรืองดการดื่มกาแฟ และ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์
2) รักษาสาเหตุและแก้ไข เช่น ใส่ Splint หรือ เฝือกสบฟันเพื่อลดการสึกของฟัน โดยใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น นอกจากนี้อาจปรึกษาทันตแพทย์เพื่อกรอหรือปรับลักษณะสบฟันหรือจัดฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ หรือ ถอนฟันซี่ที่ไม่มีคู่สบเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากการขบฟัน แล้วแต่ลักษณะที่พบ
3) รับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อลดการทำงานหรือให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการข้างเคียงของอาการนอนกัดฟัน
4) การฉีดโบท็อก (Botox, Botulinum Toxin) เข้าไปในกล้ามเนื้อมัดที่ควบคุมการเคี้ยว ถือเป็นการทำให้กล้ามเนื้อลดการทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังสามารถใช้งานหรือเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงปกติ วิธีนี้เป็นที่แพร่หลายมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
5) Bio Feedback เหมือนการทำผิดแล้วถูกลงโทษ สอนสมองให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว โดยแพทย์ผู้รักษาจะให้ใช้เครื่องมือที่มีตัวเซนเซอร์กล้ามเนื้อกราม หากกัดเข้าหากันในระดับรุนแรง เครื่องมือจะส่งสัญญาณที่เป็นได้ทั้งในรูปแบบของเสียงที่ดังพอให้รู้สึกตัวแต่ไม่ถึงกับตื่น หรือในรูปแบบของกระแสไฟฟ้าที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อช็อตให้สะดุ้ง เพราะเมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวก็จะหยุดกัดกราม
ดังนั้น การฉีด Botox กราม ไม่เพียงแต่จะช่วยปรับรูปหน้าของคนไข้ให้ดูเรียวกระชับขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอาการนอนกัดฟันได้อย่างดีอีกด้วย
517/6-7 รามคำแหง 57-59 หัวหมาก บางกะปิ , กรุงเทพมหานคร 10240
โทร. 0640421788 , 0970589090
Email : dioraclinic@gmail.com
ที่จอดรถ , รองเท้าสะอาดภายในคลินิก ,ทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกชั่วโมง
เปิดบริการ วันพุธ-วันจันทร์ : 13:00 – 21:00 (หยุดทุกวันอังคาร)